ถั่วแมคคาเดเมีย

ถั่วแมคคาเดเมีย กับประโยชน์ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้!

ถั่วแมคคาเดเมีย

แมคคาเดเมีย พืชตระกูลถั่วที่นิยมนำมาเคลือบช็อกโกแลต กลายเป็นขนมแสนอร่อย อย่าง Ferroro Rocher หรือแบรนด์ช็อกโกแลตชนิดอื่น ๆ ถั่วแมคคาเดเมีย เป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด รวมถึงไขมันไม่อิ่มตัวและสารประกอบโพลีฟีนอล (Pholyphenol) เชื่อกันว่าแมคคาเดเมียอาจมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น ช่วยลดระดับไขมันชนิดไม่ดี (LDL Cholesterol) ต้านเชื้อแบคทีเรีย และป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

แมคคาเดเมียมักถูกนำมาอบแห้งเป็นขนมทานเล่น หรือใช้เป็นส่วนผสมในขนมหลากชนิด เช่น เค้ก คุกกี้ หรือไอศกรีม ซึ่งแมคคาเดเมียอบแห้งปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานสูงถึง 718 แคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารโภชนาการที่มีประโยชน์มากมาย หลายคนจึงนิยมรับประทานแมคคาเดเมีย เพราะเชื่อว่านอกจากรสชาติอร่อยที่ปรุงแต่งในอาหาร แมคคาเดเมียอาจมีประโยชน์ต่อร่างกาย บำรุงสุขภาพ และรักษาหรือป้องกันโรคบางชนิดได้ด้วย

ถั่วแมคคาเดเมีย (Macadamia) นั้นขึ้นชื่อว่าเป็นราชาแห่งถั่ว เนื่องจากเป็นถั่วที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุ และโดยเฉพาะ ไขมันดี

ถั่วแมคคาเดเมีย (Macadamia)

ในถั่วแมคคาเดเมีย 1 ออนซ์ จะให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

  • พลังงาน 204 แคลอรี่  
  • ไขมัน 23 กรัม  
  • โปรตีน 2 กรัม  
  • คาร์โบไฮเดรต  4 กรัม  
  • น้ำตาล 1 กรัม  
  • ใยอาหาร 3 กรัม  
  • แมงกานีส 58% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน  
  • ไทอามีน (Thiamine) 22% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน  
  • ทองแดง 11% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน  
  • แมกนีเซียม 9% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน  
  • ธาตุเหล็ก 6% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน  
  • วิตามินบี 6 5% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน

แมคคาเดเมียนั้นมีไขมันสูงก็จริง แต่ไขมันกว่า 79% ที่พบในแมคคาเดเมียนั้นล้วนแล้วแต่ก็เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fats) หรือที่เรารู้จักกันว่าเป็น ‘ไขมันดี’ (HDL) ไขมันเหล่านี้เป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เนื่องจากสามารถช่วยลด ‘ไขมันไม่ดี’ (LDL) ที่อยู่ในเลือดได้

ซึ่งประโยชน์ของถั่วแมคคาเดเมียนั้นมีดังนี้

ประโยชน์ของถั่วแมคคาเดเมีย

1. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนลงพุง

โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาลในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการรับประทานถั่วแมคคาเดเมีย อาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เหล่านี้ได้ มีงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานถั่วแมคคาเดเมีย อาจสามารถช่วยป้องกันได้ทั้งโรคอ้วนลงพุง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการลดระดับของน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (fasting blood sugar levels) งานวิจัยพบว่า ผู้ที่รับประทานถั่วแมคคาเดเมียวันละ 28-84 กรัมต่อวัน จะมีระดับของน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง (HbA1c) และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในระยะยาว

2. ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า การรับประทานถั่วยืนต้น เช่น แมคคาเดเมีย อาจสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทำการทดลองกับหนูที่เป็นโรคเบาหวาน แล้วพบว่า หนูที่รับประทานอาหารที่มีไขมันมูฟ่าสูง อย่างถั่วแมคคาเดเมีย ร่วมกับการออกกำลังกาย จะสามารถลดระดับของค่าน้ำตาลสะสมได้มากกว่า หนูที่ออกกำลังกายเพียงแค่อย่างเดียว

3. ดีต่อสุขภาพหัวใจ

จากที่ได้กล่าวไปเบื้องต้น ถั่วแมคคาเดเมีย นั้นอุดมไปด้วยไขมันดี ที่สามารถช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล และไขมันไม่ดีที่อยู่ในกระแสเลือดได้ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานอาหารที่มีไขมันมูฟ่า (MUFA) สูง อย่างถั่วแมคคาเดเมีย สามารถช่วยทำให้สุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น นอกจากนี้ยังอาจสามารถช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล และระดับของความดันโลหิต ซึ่งล้วนแล้วแต่ก็เป็นผลดีต่อสุขภาพหัวใจทั้งสิ้น

4. อาจช่วยป้องกันมะเร็ง

เนื่องจากในถั่วแมคคาเดเมียนั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) หรือวิตามินอี ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยต่อต้านการอักเสบ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยป้องกันความเสียหายต่อเซลล์ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งได้ ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงอย่างถั่วแมคคาเดเมีย จึงอาจสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้นั่นเอง

วิธีการบริโภคถั่วแมคคาเดเมีย

วิธีการบริโภคถั่วแมคคาเดเมีย

สำหรับคนส่วนใหญ่ การบริโภคแมคคาเดเมียในรูปแบบอาหารอาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ และหากต้องการบริโภคเพื่อลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ควรบริโภคในปริมาณเดียวกับในงานวิจัย คือ 40-90 กรัม/วัน แต่ปริมาณดังกล่าวก็อาจทำให้ร่างกายได้รับแคลอรี่สูงจากไขมันตามไปด้วย อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันความปลอดภัยในการรับประทานแมคคาเดเมียในปริมาณมากได้อย่างชัดเจน ผู้บริโภคจึงควรรับประทานแมคคาเดเมียอย่างระมัดระวัง หรือปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรับประทานแมคคาเดเมียให้เหมาะสมกับสุขภาพร่างกายของตน โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโรคประจำตัว หรืออยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง

สำหรับคนไหยที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรนั้นควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป และหากคนไหนที่แพ้อาจจะต้องงด หรือหากมีอาการผิดปกติหลังจากที่รับประทานถั่วแมคคาเมียไป ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันที

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงใช้บริการ Youtube กันอยู่แล้ว แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า คลิปไหนใน Youtube มียอดวิวสูงสุด 30 อันดับวิดีโอ ที่มียอดวิวสูงสุดในยูทูป ไปดูกันดีกว่ามีคลิปไหนกันบ้าง

อ่านบทความเพิ่มเติม บริหารเงินอย่างไร? ให้มีฐานะที่มั่นคง พบกับคำแนะนำ 7 ข้อที่จะช่วยให้คุณบริหารการเงินได้ดียิ่งขึ้น