บริหารเงินอย่างไร ให้มีฐานะที่มั่นคง

บริหารเงินอย่างไร? ให้มีฐานะที่มั่นคง

บริหารเงินอย่างไร ให้มีฐานะที่มั่นคง – การบริหารจัดการความมั่งคั่งเพื่อฐานะที่มั่นคง หรือ Wealth Management นั้น หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก และจะใกล้ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป นานวันเข้า หากเราไม่มีการบริหารจัดการความมั่งคั่งเพื่อฐานะที่มั่นคงเราอาจจบไม่สวย บางคนอายุมากแล้วไม่มีเงินเก็บ ซ้ำร้ายกลับมีหนี้สินรุงรัง อย่าดีกว่าครับ ลองดู 7 คำแนะนำทางการเงินเพื่อฐานะที่มั่นคง

บริหารเงินอย่างไร ให้มีฐานะที่มั่นคง

1. เน้นทำงานสร้างคุณค่า และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

สิบปีแรกของการทำงาน อย่าโฟกัสที่เงินเดือนหรือรายได้เพียงอย่างเดียว ให้มองเรื่องของโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วย งานที่ดีต้องทั้งเลี้ยงชีวิต (มีกิน มีใช้ มีเหลือเก็บ) และช่วยสร้างโอกาสให้ชีวิตได้ด้วย (ให้ความรู้และประสบการณ์ที่ต่อยอดได้ในอนาคต) ในอีกมุมหนึ่งก็เป็นการค้นหาตัวเองไปด้วยในตัว ไม่ว่าจะเป็นงานที่สร้างรายได้ หรืองานอดิเรก การที่เราจัดสรรเวลาเรียนรู้ให้กับหลายเรื่องที่เรารู้สึกสนุก สนใจ อยากทำ ซน และผจญภัยกับมันให้มากพอ สิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ ขัดเกลาวิธีคิด มุมมอง ทักษะ และประสบการณ์ของเราให้แหลมคมมากขึ้น จนค้นพบตัวตนและงานที่เหมาะกับตัวเองได้ในที่สุด

2. อย่าก่อหนี้บริโภค

กลุ่มของหนี้บริโภคนั้นไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคล เหล่านี้ล้วนแต่เป็นหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยสูงมาก สูงถึงระดับ 18-28 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว (หนี้นอกระบบยิ่งไปกันใหญ่) เรียกว่าถ้าเราเผลอไปเป็นหนี้เหล่านี้ รับรองว่าชีวิตเหนื่อยตั้งแต่อายุยังน้อยแน่นอน ทั้งนี้ ไม่ได้ห้ามใช้บัตรเครดิตนะ สามารถมีหรือพกบัตรเครดิตไว้แทนการพกพาเงินสดได้ แต่ใช้เท่าไหร่ ก็จ่ายคืนไปเต็มจำนวน ไม่จ่ายขั้นต่ำหรือจ่ายคืนบางส่วน ถ้าไม่มั่นใจว่าชำระคืนเต็มจำนวนได้ ก็อดทนรอสักหน่อย เก็บเงินเพิ่มอีกสักนิด อย่าใช้บัตรตามใจตัวเอง

บริหารเงินอย่างไร ให้มีฐานะที่มั่นคง

3. สำรวจตัวเองก่อนวางแผนทางการเงิน

ก่อนที่เราจะวางแผนทางการเงินเพื่อฐานะที่มั่นคง เราจะต้องสำรวจตนเองก่อนว่าเรามีสินทรัพย์เท่าไร มีหนี้สินเท่าไร มีกระแสเงินสดต่อเดือนเท่าไร สินทรัพย์ที่เรามีนั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มตามกาลเวลา หรือเป็นสินทรัพย์ที่ด้อยมูลค่าตามกาลเวลา หนี้สินที่เรามีมากกว่าสินทรัพย์หรือไม่ มากเกินกว่ากำลังจ่ายของเราหรือเปล่า เมื่อเราสำรวจตัวเองเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ควรจะได้ก็คือ “เงินเหลือเก็บ” ในแต่ละเดือน

4. คำนวณกระแสเงินสดของเรา

เมื่อเราสำรวจตัวเองเพื่อวางแผนทางการเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คำแนะนำต่อมาก็คือ ลองคำนวณกระแสเงินสดในแต่ละเดือนของเรา กระแสเงินสดที่นำมาคำนวณต้องเป็นตัวเลขที่เกิดจากการนำรายได้หักออกด้วยรายจ่ายทั้งหมด เป็นกระแสเงินสดเหลือเก็บ ยกตัวอย่างเช่น เรามีเงินเหลือเก็บเดือนละ 5000 บาท เท่ากับว่าปีหนึ่งๆ เราสามารถเก็บเงินได้อย่างน้อย 6 หมื่นบาทต่อปี

5. จดบันทึกค่าใช้จ่ายที่จำเป็น

เมื่อเรารู้ตนเองแล้วว่าเรามีสินทรัพย์เท่าไร มีหนี้สินเท่าไร มีเงินเหลือเก็บอยู่เท่าไร จากนั้นเราต้องจดบันทึกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในปัจจุบัน และอนาคตของเราออกมา เช่น ค่าโปะบ้าน ค่าประกันชีวิต ค่าเทอมลูกในอนาคต ค่าเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น การจดบันทึกค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบัน และอนาคต จะทำให้เราต้องวางแผนล่วงหน้าเก็บเงินสะสม เวลาที่ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเกิดขึ้นจริง จะได้ไม่เกิดอาการ “ช็อตเงิน” หรือหมุนเงินไม่ทันนั่นเอง

บริหารเงินอย่างไร ให้มีฐานะที่มั่นคง

 6. การจำลองแผนการลงทุน

เมื่อเราวิเคราะห์ตนเอง คำนวณกระแสเงินสดที่ควรจะเป็น และวางแผนครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นออกมาแล้ว เราจะมองเห็น “เงินเหลือเก็บ” ได้อย่างชัดเจน หน้าที่ของเราต่อจากนี้ก็คือ การวางแผนลงทุน ทำเงินเหลือเก็บให้งอกเงย โดยแผนการลงทุนมีดังต่อไปนี้

  • นำเงินไปฝากประจำ ผลตอบแทนที่คาดหวัง 2-3%
  • นำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ผลตอบแทนที่คาดหวัง 3-5%
  • นำเงินไปซื้อกองทุนรวม ผลตอบแทนที่คาดหวัง 5-10%
  • นำเงินไปลงทุนในหุ้น ผลตอบแทนที่คาดหวัง 10-15%

เมื่อเราลองจำลองผลตอบแทนจากการลงทุนออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วขอให้เข้าสู่คำแนะนำสุดท้ายกันเลย

7. จัดพอร์ตการลงทุนเพื่ออนาคต

จากการจำลองผลตอบแทนจากการลงทุนเราจะพบว่า เราสามารถลงทุนและรับผลตอบแทนได้ตั้งแต่ 2-15% ต่อปี ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ หน้าที่ของเราก็คือ การแบ่งเงินเหลือเก็บมาลงทุน โดยการจัดพอร์ตการลงทุนเพื่ออนาคตนั้น จะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ครับ หากเราอายุยังน้อย และรับความเสี่ยงได้สูง ก็ควรนำเงินไปลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่มากหน่อย แต่ถ้าเรายอมรับความเสี่ยงได้ต่ำ ก็ควรนำเงินไปฝากประจำ หรือซื้อพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนที่แน่นอน ความเสี่ยงที่ต่ำกว่าครับ วิธีการที่แน่นอนก็คือ เราต้องมี “วินัย” ในการออม การลงทุนระยะยาว หากเราสามารถลงทุน และทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ในช่วง 5-10% ต่อปี เราจะสามารถสร้างพอร์ตการลงทุนให้เติบโตได้ 1 เท่าตัว ภายในระยะเวลา 5-7 ปี

บริหารเงินอย่างไร ให้มีฐานะที่มั่นคง

ทั้งหมดนี้ คือหลักคิดทางการเงินสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่อยากฝากให้กับทุกๆ คน ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานทุกคน จำไว้ว่า ถ้าการเงินในช่วง 10 ปีแรกเป็นไปได้ด้วยดี การสร้างชีวิตและครอบครัวในช่วงอายุที่สูงขึ้นไป ก็จะเป็นเรื่องไม่ยาก แม้ภาระการเงินอาจจะหนักขึ้นบ้าง ทั้งจากการซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ค่าใช้จ่ายลูก ฯลฯ แต่ก็จะอยู่ในวิสัยที่เราบริหารจัดการได้

หลังจากได้รู้เกี่ยวกับการบริหารเงินแล้วตามมาดูข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ Right Slots Strategy และเอาใจคนชอบเบอร์รี่กับ เบอร์รี่ 9 ชนิด ที่กินได้เรื่อยๆแถทสุขภาพดีอีกต่างหาก