ทักษะและลักษณะของคนในยุคศตวรรษที่ 21

ทักษะและลักษณะของคนในยุคศตวรรษที่ 21 ที่ควรมี

นับตั้งแต่การก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา โลกมีการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างอย่างรวดเร็วมาก ตั้งแต่เรื่องของการปฎิวัติเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Disruption) ไปจนถึงเรื่องของการปฎิวัติอาชีพ (Career Disruption) หลายสิ่งหลายอย่างทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไปเพื่อก้าวให้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลง รวมไปถึงเรื่องการศึกษาที่เริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบตลอดจนมีสาขาวิชาใหม่ๆ ที่น่าสนใจผุดขึ้นมามากมาย การก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 นั้นแม้แต่องค์กรเองก็ต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงแรงงานทั้งหลายที่ก็ต้องพัฒนาตัวเองให้ก้าวทันความก้าวหน้าด้วย วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ ทักษะและลักษณะของคนในยุคศตวรรษที่ 21 ว่าจะเป็นอย่างไร ไปดูกันเลย

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

1. Creativity Skill – ทักษะการสร้างสรรค์

ทักษะการสร้างสรรค์

การสร้างสรรค์นั้นหมายถึงตั้งแต่การสร้างสิ่งใหม่ๆ ไปจนถึงสร้างสิ่งที่มีอยู่แล้วให้น่าสนใจในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งปัจจุบันความคิดสร้างสรรค์เริ่มถูกนำมาใช้กับแทบทุกศาสตร์ที่ไม่ใช่แค่ด้านศิลปะและการออกแบบเหมือนแต่ก่อน ทุกอย่างสามารถใส่ความคิดสร้างสรรค์ได้

2. Computers Technology Skill – ทักษะทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ทักษะทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ทักษะด้านนี้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของเทคโนโลยีไปจนถึงนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ตที่เป็นเสมือนกุญแจสำคัญในการพลิกโฉมโลกใบนี้สู่โลกยุคดิจิตอล (Digital Age)

3. Cross-cultural Relationship – ทักษะทางด้านความสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม

ศตวรรษที่ 21 ไม่เพียงแต่เป็นยุคของการผสมผสานหลากวัฒนธรรม (Multi Culture) เท่านั้น แต่ยุคนี้ยังเป็นยุคของความสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม (Cross Cultural) ที่ทั้งโลกเชื่อมถึงกันได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

4. Communication – ทักษะทางด้านการสื่อสาร

ทักษะทางด้านการสื่อสาร

ทักษะนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญมากในโลกยุคที่ไร้พรมแดนขึ้นทุกวัน นอกจากการฟัง พูด อ่าน เขียน แล้วปัจจุบันยังต้องใส่ใจในสื่อ ตลอดจนช่องทางการสื่อสารต่างๆ ด้วย ยุคนี้มนุษย์มีสื่อและช่องทางการสื่อสารกันมากมาย ทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ทางธุรกิจ ตลอดจนประโยชน์ด้านอื่นๆ

5. Collaboration – ทักษะในการสร้างความร่วมมือ

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้มีการร่วมมือกันระหว่างประเทศหรือข้ามกลุ่มข้ามองค์กร ข้ามวัฒนธรรมกันมากมาย ในขณะที่สงครามการแข่งขันทางธุรกิจยิ่งทำให้แต่ละฝ่ายต่างแย่ ยุคนี้ก็เลยเกิดการร่วมมือจับมือกันพัฒนาธุรกิจที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย

6. Critical Thinking – ทักษะในการเผชิญวิกฤตและการแก้ปัญหา

ไม่ว่าจะยุคไหนๆ หรือการทำอะไรก็ตาม ย่อมมีโอกาสเจอปัญหา เจอความผิดพลาด หรือเจอวิกฤติที่คาดไม่ถึงมากมาย สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมรับมืออย่างไร มีการเผชิญกับวิกฤติอย่างไร และมีทักษะในการแก้ปัญหาที่ดีอย่างไร ไม่ใช่วิ่งหนีปัญหา หรือหวั่นกลัววิกฤติ แต่ต้องรู้จักลุกขึ้นเผชิญกับปัญหา มีสติในการเผชิญหน้ากับวิกฤต และต้องมีความรอบคอบในการแก้ปัญหาด้วย

7. Continuous Learning – ทักษะการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง

โลกในยุคศตวรรษที่ 21 นี้มีการส่งเสริมสังคมทั่วโลกให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) เพราะการเรียนรู้นั้นไม่มีวันสิ้นสุด เราสามารถเรียนรู้ได้ทุกอย่าง เรียนรู้ได้เสมอ และเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

8. Career in Deep Skill – ทักษะวิชาชีพเชิงลึก

เมื่อโลกมีความหลากหลายด้านอาชีพขึ้น ในขณะที่ศาสตร์อาชีพเดิมก็เริ่มมีความลึกขึ้นเช่นกัน ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ทุกคนแข่งขันกันพัฒนาศักยะภาพตนเองในสาขาวิชาชีพตน ศึกษาให้ลึกซึ้ง และเพิ่มทักษะความชำนาญทางวิชาชีพให้ลึกขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ

                นอกจากทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 แล้ว นี่คือลักษณะของบุคคลแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ยอดเยี่ยมที่สังคมแห่งการพัฒนาต้องการ

  • Learner – ผู้รักการเรียนรู้: รักที่จะเรียนรู้อยู่เสมอตั้งแต่สิ่งเล็กๆ รอบตัวไปจนถึงสิ่งใหญ่ๆ ระดับโลก การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด และอยู่กับตัวเราตลอดเวลา การมีนิสัยการเรียนรู้คือคุณสมบัติที่ดีเบื้องต้นของมนุษย์ที่มีศักยภาพต่อการพัฒนาใดๆ ก็ตาม
  • Leader – ผู้นำ: การเป็นผู้นำในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตำแหน่ง หรืออำนาจเท่านั้น แต่คือการเป็นผู้ที่สามารถนำกลุ่ม ควบคุมการทำงาน กล้าเสนอแนะ กล้าต่อสู้กับสิ่งต่างๆ มีความคิดก้าวไกล คิดรอบคอบ มีภาวะการตัดสินใจดีเยี่ยม เป็นต้น ภาวะผู้นำจะเป็นเสมือนตัวเร่งปฎิกิริยาที่ดีในการปฎิบัติงานตลอดจนสร้างการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
  • Innovator – นวัตกร: ผู้สร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรืออำนวยความสะดวกในทางที่ดีขึ้น การเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถชี้วัดการพัฒนาขององค์กรหรือแม้แต่โลกใบนี้ได้
  • Developer – นักพัฒนา: นักพัฒนานั้นบางครั้งก็เป็นนวัตกรในตัวเอง หรือเป็นผู้ที่นำนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์หลายด้าน หรือพัฒนาในสิ่งที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์มากมายหลายด้านด้วยเช่นกัน นักพัฒนานี้มีส่วนช่วยขยายประโยชน์ให้สู่องค์กว้างมากขึ้น และมีเป้าหมายในการทำทุกอย่างให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนั่นถือเป็นคุณสมบัติที่ดีของประชากรโลกเลยทีเดียว
  • Creator – นักสร้างสรรค์: บางครั้งเรื่องของการสร้างสรรค์ก็ไม่ใช่เรื่องของศิลปะหรือนักประดิษฐ์ แต่คุณสมบัติของนักสร้างสรรค์นั้นสามารถมีอยู่ได้ในตัวทุกคน และสามารถนำไปใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ การคิดหาวิธีการใหม่ๆ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือแม้แต่การปรับปรุงสิ่งเดิมให้น่าสนใจขึ้นก็คือเป็นวิสัยแห่งการสร้างสรรค์ที่ดี ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรในอนาคตได้เช่นกัน หากมนุษย์มีความเป็นนักสร้างสรรค์อยู่ในตัวเยอะ ก็จะจะเป็นคนที่อยากแก้ไขสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นไปโดยปริยาย
  • Coordinator – นักประสานงาน: นักประสานงานนี้คือตัวเชื่อมที่ดี การที่แต่ละคนมีความโดดเด่นในปัจเจกบุคคลนั้นก็อาจไม่เกิดประโยชน์ หรืออาจทำให้เกิดการต่อสู้แข่งขันที่สร้างปัญหาได้ นักประสานงานที่ดีมักจะยึดถือการเชื่อมความสามัคคี การสร้างความปรองดอง การสร้างความร่วมมือเป็นหลัก บางครั้งนวัตกร นักสร้างสรรค์ หรือแม้แต่นักพัฒนา อาจใส่ใจในปัจเจกของตัวเอง แต่นักประสานงานจะช่วยทำให้เกิดพลังร่วมในการสร้างสรรค์ร่วมกันที่ก่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นในโลกได้ และช่วยลดปัญหาความขัดแย้งแห่งโลกอนาคตได้ดีทีเดียว

ที่กล่าวไปนั้นไม่ใช่แค่การเป็นตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงบุคลิกลักษณะของบุคคลด้วย และไม่จำเป็นว่าในบุคคลเดียวนั้นจะต้องมีลักษณะเดียว ทุกลักษณะสามารถผสมผสานให้สอดคล้องภายในบุคคลเดียวกันได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งย่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยิ่ง

รู้จัก ทักษะและลักษณะของคนในยุคศตวรรษที่ 21 เรามาทำความรู้จักกับ ศิลปะเซรามิก ศิลปะจากการใช้วัตถุดิบธรรมชาติ ว่ามีที่มาเป็นยังไงบ้าง พร้อมรู้จักศิลปินเซรามิกไปพร้อม ๆ กัน

อ่านบทความเพิ่มเติม ประโยชน์ของการเล่นเกมสล็อตออนไลน์