“ไข้หวัด” โรคที่มาพร้อมกับหน้าฝน

“ไข้หวัด” โรคที่มาพร้อมกับหน้าฝน ใกล้ถึงฤดูฝนเข้ามาเต็มที อากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย มีความชื้นมาก ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโต และแพร่เชื้อได้ดี หากถูกฝน ก็มีโอกาสเจ็บป่วย มีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจได้ง่าย จึงควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือ และป้องกันกลุ่มโรคติดเชื้อ ทางระบบทางเดินหายใจ ก่อนที่จะรู้รายละเอียดของโรคกัน อย่าลืมท่านอาหารที่มีประโยชน์กันด้วยนะครับ อาหารเพื่อสุขภาพ สร้างสุขภาพดีรับวันใหม่
โรคหวัดหรือไข้หวัด
โรคหวัดหรือไข้หวัด (Acute Rhinopharyngitis : Common Cold) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หรือ โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กเล็กสามารถเป็นได้หลายครั้งในแต่ละปี ในผู้ใหญ่จะเป็นน้อยลงตามลำดับ เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นโรคหวัด 6–12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2–4 ครั้งต่อปี ความรุนแรงของโรคไม่มาก และสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงเน้นรักษาประคับประคอง อาการจนอาการหายดีเอง
การติดต่อ
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่มากกว่า 100 ชนิด โดยส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัส ประเภทคอรีซา (Coryza Virus) ได้แก่ ไรโนไวรัส (Rhinovirus) และอื่น ๆ ติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ โดยการหายใจเอาเชื้อที่กระจายจากการไอ หรือหายใจรดกัน หรือมือที่เปื้อนเชื้อโรค สัมผัสจมูกหรือตา ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ ก่อนเกิดอาการและ 1–2 วันหลังเกิดอาการ
อาการที่พบ
เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เยื่อบุโพรงจมูก เชื้อจะเกาะและเข้าสู่เซลล์เยื่อบุ แบ่งตัวเพิ่มจำนวน และทำให้เซลล์ถูกทำลาย เกิดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุบวม และแดง พบว่ามีการหลั่งของเมือกออกมา ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 1–3 วัน (โดยเฉลี่ย 10–12 ชั่วโมง) จึงจะแสดงอาการ

อาการของโรคหวัด ได้แก่
- คัดจมูก
- น้ำมูกไหลลักษณะใส
- ไอ
- จาม
- เจ็บคอ
- เสียงแหบ
- อาจมีอาการไข้ต่ำ ๆ
- ปวดศีรษะเล็กน้อย
ในผู้ใหญ่อาการจะน้อยมาก อาจมีแค่คัดจมูกและน้ำมูกไหล (ยกเว้นผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ) อาการของโรคมักเป็นไม่เกิน 2–5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนาน 10–14 วัน
การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นโรคหวัด
1. เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ จนอาการหายดีเอง การใช้ยาฆ่าเชื้อ โดยไม่จำเป็นจะทำให้เชื้อแบคทีเรีย เกิดการดื้อยาได้
2. พักผ่อนให้เพียงพอ
3. ดื่มน้ำมาก ๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น)
4. รักษาร่างกายให้อบอุ่น
5. รับประทานอาหารอุ่น
6. หลีกเลี่ยงการจาม หรือ สั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้น้ำมูก ที่มีเชื้อโรคเข้าไปในไซนัส เกิดการอักเสบติดเชื้อได้
7. เวลาไอ หรือจาม ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก

ป้องกันการติดเชื้อหวัด
1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัด ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือ ใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือ หลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัส หรือ ถูจมูก หรือ ขยี้ตา
2. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ
3. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วย ที่กำลังไอ หรือ จาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัด ในช่วงที่มีการระบาด
4. การฉีดวัคซีนป้องกันโรค ไข้หวัดใหญ่ ไม่สามารถป้องกันโรคหวัดได้ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัส คนละชนิด
อาการที่ควรไปพบแพทย์
- เมื่อน้ำมูก หรือ เสมหะเหลืองเขียว
- ปวดหู หูอื้อ
- ปวดศีรษะมาก
- ไข้สูง
- มีอาการหอบเหนื่อย
ควรพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อน หากมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกายมาก อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่โรคหวัด

ภาวะแทรกซ้อน
1. คนที่เป็นโรคหวัดบางส่วน จะมีการติดเชื้อของแบคทีเรียซ้อนร่วมด้วย ทำให้มีอาการน้ำมูกข้น สีเหลืองหรือเขียว มีเสมหะเขียว
2. ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้อน
3. เยื่อบุตาอักเสบ
4. หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดอักเสบ
5. ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด หรือ ถุงลมในปอดโป่งพอง เมื่อเป็นโรคหวัด จะทำให้อาการหอบเหนื่อย รุนแรง มากขึ้น
การดูหนังหรือซีรี่ย์ ก็เป็นอีกกิจกรรมที่สามารถทำให้เราห่างไกลโรคได้ เนื่องจากทำให้ผ่อนคลาย และได้พักผ่อนในยามว่าง ทำให้ไม่เครียด เรียกว่าดีต่อใจเลยทีเดียว สำหรับใครที่หาหนังดูไม่ได้ เรามีมาแนะนำ 3 ซีรี่ย์ Netfilx 2020 ที่ไม่ดูไม่ได้
“ไข้หวัด” โรคที่มาพร้อมกับหน้าฝน